เมนู

เป็นอนุปาทาก็มี) ดังนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตมนฺตํ รูปํ อุปาทา (รูป
เป็นอุปาทานั้น เป็นไฉน) ดังนี้. ในพระบาลีนั้น รูปที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะ
อรรถว่า อาศัย อธิบายว่า อุปาทารูปนั้นถือเอามหาภูตรูปมั่นไม่ปล่อยวาง
คือย่อมอาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป.

ว่าด้วยจักขายตนะ


บัดนี้ เมื่อจะแสดงรูปนั้นโดยประเภทต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
จกฺขายตนํ (จักขายตนะ) ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยกอุปาทารูป 23
อย่างขึ้นแสดงโดยสังเขปแล้วเมื่อจะแสดงอุปาทารูปนั่นนั่นแหละโดยพิสดารอีก
จึงตรัสว่า กตมนฺตํ รูปํ จกฺขายตนํ (รูปที่เรียกว่า จักขายตนะนั้นเป็นไฉน)
เป็นต้น.
ในคำว่า จักขายตนะ นั้น จักษุมี 2 อย่าง คือ มังสจักษุ และ
ปัญญาจักษุ ในมังสจักษุและปัญญาจักษุนั้น

ปัญญาจักษุมี 5 อย่าง

คือ
พุทธจักษุ จักษุของพระพุทธเจ้า
สมันตจักษุ ได้แก่สัพพัญญุตญาณ
ทิพยจักษุ ดวงตาเห็นธรรม
ทิพยจักษุ ตาทิพย์
ธรรมจักษุ มรรคเบื้องต่ำ 3.
บรรดาปัญญาจักษุ 5 เหล่านั้น จักษุที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย
ฯลฯ ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี นี้ชื่อว่า พุทธจักษุ. จักษุที่ตรัสไว้ว่า สัพ-
พัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ นี้ชื่อว่า สมันตจักษุ.2 จักษุที่ตรัสไว้ว่า
1. ม. มู. เล่ม 12. 323/325. 2. ขุ. จฬนิทฺเทส. เล่ม 30. 492/242

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว นี้ชื่อว่า ญาณจักษุ.1 จักษุ ที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ นี้ชื่อว่า ทิพยจักษุ.< /B>2
ญาณคือ มรรค 3 เบื้องต่ำที่ตรัสไว้ว่า ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ย่อมเกิดขึ้น ณ อาสนะที่นั่งนั้นนั่นแหละ นี้ชื่อว่า ธรรมจักษุ.3
แม้มังสจักษุก็มี 2 อย่าง คือ
สสัมภารจักษุ (ลูกตาที่มีส่วนประกอบ)
ปสาทจักษุ (ประสาทตา).
บรรดามังสจักษุทั้ง 2 นั้น ก้อนเนื้อนี้ตั้งอยู่เฉพาะในเบ้าตาข้างล่าง
กำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ที่ข้างทั้งสองกำหนด
ด้วยเบ้าตา ในภายในกำหนดด้วยมันสมอง ภายนอกกำหนดด้วยขนตา. ว่า
โดยสังเขป จักษุนี้มีส่วนประกอบ (สสัมภาร) 14 คือ ธาตุ 4 วรรณะ คันธะ
รสะ โอชะ สัมภวะ (ความเกิด) สัณฐาน ชีวิตะ ภาวะ กายประสาท จักษุ
ประสาท. ว่าโดยพิสดารมีสสัมภาระคือส่วนประกอบถึง 44 อย่าง ด้วยสามารถ
แห่งรูป 44 เหล่านี้คือ รูป 10 เหล่านี้คือ ธาตุ 4 วรรณะ คันธะ รสะ
โอชา สัณฐาน และสัมภวะ ซึ่งอาศัยธาตุ 4 เกิดขึ้น เกิดแต่สมุฏฐาน 4
จึงรวมเป็น 40 รูป รูปเกิดโดยมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว คือ ชีวตะ
ภาวะ กายปสาทะ จักขุปสาทะ.
ชาวโลก (พาลปุถุชน) จำก้อนเนื้อได้ว่าเป็นตาสีขาว ตาใหญ่ ตา
บริสุทธิ์ ตากว้าง ย่อมไม่จำว่าเป็นจักขุ ย่อมจำซึ่งวัตถุโดยความเป็นจักษุ
ตานั้นเป็นก้อนเนื้อตั้งอยู่เฉพาะในเบ้าตา อันสายเอ็นรัดไว้กับมันสมองใน
ภายใน เป็นสีขาวก็มี เป็นสีดำก็มี เป็นสีแดงก็มี เป็นปฐวีก็มี เป็นอาโปก็มี
1. ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต. 2. ม. มู. เล่ม 12. 324/328.
3. ม.ม. เล่ม 13. 599/545.

เป็นเตโชก็มี เป็นวาโยก็มี. ตาใดมีสีขาว เพราะมากด้วยเสมหะ มีสีดำ
เพราะมากด้วยน้ำดี มีสีแดง เพราะมากด้วยโลหิต มีความกระด้างเพราะ
มากด้วยปฐวี มีน้ำตาไหลออก เพราะมากด้วยอาโป มีความแห้งเกรียม เพราะ
มากด้วยเตโช มีความเคลื่อนไหวได้เพราะมากด้วยวาโย นี้ชื่อว่า สสัมภาร-
จักษุ.

ส่วนปสาทรูปใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เหล่านี้ อยู่ในสสัมภารจักษุนี้
เนื่องเฉพาะในสสัมภารจักษุนี้ รูปนี้ชื่อว่า ปสาทจักขุ จักขุประสาทนี้ตั้งอยู่
ซึมซาบตลอดเยื้อตา 7 ชั้น เหมือนน้ำมันที่ลาดลงที่ปุยนุ่น 7 ชั้น ในแววตา
(มณฑล) ที่เห็นรูปเป็นเช่นกับถีนที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐานของบุคคลทั้งหลาย
ผู้ยืนอยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแห่งแววตาสีดำ แวดล้อมด้วยแววตา (มณฑล)
สีขาวแห่งสสัมภารจักษุนั้น มีอุปการะอันธาตุทั้ง 4 อุปการะด้วยกิจมีการให้
ทรงไว้ ให้ชุ่มอยู่ ให้อบอุ่น ให้เคลื่อนไหวไปมาได้ เปรียบเหมือนแม่นม
4 คน ทำหน้าที่เลี้ยงดูอุ้มชู ให้ทรงสนาน ให้การประดับตกแต่งพระองค์
และให้อยู่งานคอยพัดวีฉะนั้น อันอุตุ จิต และอาหารอุปถัมภ์อยู่ อันอายุคือ
ชีวิตินทรีย์คอยเฝ้าอนุบาล แวดล้อมด้วยโคจรรูปมี วรรณะ คันธะ และรสะ
เป็นต้น เมื่อว่าโดยประมาณ จักขุประสาทนี้มีประมาณเท่าหัวเล็น ให้สำเร็จ
ความเป็นไปแห่งวัตถุและทวาร1 ของจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น2 ตั้ง
อยู่ตามควร3 สมดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า
เยน จกฺขุปฺปสาเทน รูปานิ สมนุปสฺสติ
ปริตฺตํ สุขุมํ เอตํ โอกาสิรสมูปมํ

1. วัตถุ หมายถึงที่เป็นที่อาศัยของจักขุวิญญาณ.
2. คือมีจักขุวิญญาณและขัมปฏิจฉันนจิต เป็นต้น มีตทารัมมณะเป็นที่สุด.
3. โยชนาว่า ตามควรแก่วัตถุและทวาร.

สัตว์ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ด้วยจักขุ
ประสาทรูปใด จักขุประสาทรูปนี้ เล็ก
ละเอียด มีประมาณเท่าศีรษะเล็น
ดังนี้.
จักษุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขายตนะ
แม้ในข้อว่า ยํ จกฺขุ จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย ปสาโท (จักษุใด
เป็นประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป 4) นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถการประกอบ
(ทุติยาวิภัตติ) อธิบายว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นไป. ด้วยบทนี้
ท่านถือเอาจักขุประสาทเท่านั้น ปฏิเสธจักษุที่เหลือ.
ส่วนคำใดที่ตรัสไว้ในอินทริยโคจรสูตรว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป
หนึ่งคือปฐวีธาตุ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยภูตรูป 3 คือ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ เป็นต้น ในจตุปริวัตตสูตร กล่าวไว้ว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูต
รูป 2 คือ ปฐวีธาตุ และอาโปธาตุ ไม่สงเคราะห์ด้วยมหาภูตรูป 2 คือ เตโช-
ธาตุ และวาโยธาตุ คำนั้นตรัสไว้โดยปริยาย จริงอยู่ สุตตันติกกถานี้เป็น
ปริยายเทศนา ก็เทศนาในสุตตันติกกถานี้ ตรัสไว้โดยปริยายนี้ว่า ประสาท
รูปใดอาศัยมหาภูตรูปทั้ง 4 ประสาทรูปนั้นก็เป็นประสาทรูปในมหาภูตรูป
เหล่านั้นแต่ละอย่าง ๆ บ้าง แต่ละ 2 อย่างบ้างนั่นแหละ ดังนี้.
แต่พระอภิธรรม ชื่อว่า นิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ใน
อภิธรรมนี้ จึงตรัสว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป 4 ดังนี้.
สรีระก็ดี ขันธปัญจกะก็ดี ตรัสเรียกว่า อัตภาพ เพราะความที่สภาวะ
นี้คนพาลกำหนดยึดถือว่า นี้เป็นอัตภาพของเรา ธรรมที่นับเนื่องในอัตภาพ
ธรรมที่อาศัยอัตภาพ เรียกว่า นับเนื่องในอัตภาพ ที่ชื่อว่า เป็นสภาพที่

เห็นไม่ได้ (อนิทสฺสโน) เพราะอรรถว่า ไม่อาจเพื่อจะเห็นได้ด้วยจักขุ-
วิญญาณ. ที่ชื่อว่า กระทบได้ เพราะอรรถว่า การกระทบ การเสียดสี
ย่อมเกิดในประสาทนี้.
ในคำทั้งหลายมีคำว่า ด้วยจักษุใด เป็นต้น มีเนื้อความโดยย่อดังต่อ
ไปนี้ สัตว์นี้เห็นรูปมีประการดังกล่าวแล้วนี้ในอดีต หรือว่ากำลังเห็นในปัจจุบัน
หรือว่าจักเห็นในอนาคต ด้วยจักษุใดอันเป็นเหตุ ถ้าจักษุของสัตว์นั้นยังไม่พึง
แตกทำลายไป ทีนั้นเขาก็พึงเห็นรูปที่มาสู่คลองได้ด้วยจักษุนั้น หรือเห็นแล้ว
ซึ่งรูปอดีตด้วยจักษุอดีต ย่อมเห็นรูปปัจจุบันด้วยจักษุปัจจุบัน หรือจักเห็นรูป
อนาคตด้วยจักษุที่เป็นอนาคต. ในอธิการนี้มีพระบาลีกำหนดไว้ว่า ถ้ารูปนั้น
พึงมาสู่คลองแห่งจักษุไซร้ สัตว์นั้นก็พึงเห็นรูปนั้นได้ด้วยจักษุ ดังนี้.
รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นผู้นำในการเห็น. นี้เรียกว่า
จักขายตนะบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นถีนเกิดและเป็นที่ประชุมแห่งธรรมมีผัสสะ
เป็นต้น. นี้เรียกว่า จักขุธาตุบ้าง ด้วยอรรถว่าความเป็นของว่างเปล่า และ
มิใช่สัตว์. นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์บ้าง เพราะอรรถว่า ย่อมครองความเป็น
ใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น. นี้เรียกว่า โลกบ้าง ด้วยอรรถว่า ต้องชำรุด
ทรุดโทรม. นี้เรียกว่า ทวารบ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นทางเข้าไป. นี้เรียกว่า
สมุทรบ้าง ด้วยอรรถว่า ให้เต็มได้ยาก. นี้เรียกว่า ปัณฑระบ้าง ด้วยอรรถ
ว่า บริสุทธิ์. นี้เรียกว่า เขตบ้าง (เกษตร) ด้วยอรรถว่า เป็นที่เกิดเฉพาะ
แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น. นี้เรียกว่า วัตถุบ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นที่อาศัย
แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. นี้เรียกว่า เนตรบ้าง เพราะ
อรรถว่า ย่อมแสดงทางที่เสมอไม่เสมอนำอัตภาพไป. นี้เรียกว่า นัยนาบ้าง
ด้วยอรรถแสดงทางที่เสมอไม่เสมอนำอัตภาพไปนั้นเหมือนกัน. นี้เรียกว่า ฝั่งนี้

บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยกานของตน. และรูป นี้เรียกว่า สุญญ คาม
บ้าง
(บ้านว่าง) ด้วยอรรถว่า เป็นที่สาธารณะแก่สัตว์เป็นอันมาก และด้วย
อรรถว่า หาเจ้าของมิได้ ดังนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัณฑิตพึงประกอบชื่อ 14 อย่าง มีคำว่า
จกฺขุเปตํ (นี้เรียกว่า จักษุบ้าง) เป็นต้น ด้วยบท 4* บท มีคำว่า ปสฺสิ วา
(เห็นแล้ว) เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนัยเป็นเครื่อง
กำหนดจักขายตนะไว้ 4 บท ดังนี้. พึงทราบอย่างไร ? พึงทราบว่า ก็ใน
พระบาลีนี้ มีนัยหนึ่งนี้ว่า
สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็นซึ่งรูปอันเป็น
สิ่งที่เห็นได้ และกระทบได้ ด้วยจักษุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ฯลฯ นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) รูปนี้
นั้นเรียกว่า จักขายตนะ ดังนี้. นัยแม้ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ


บัดนี้ เพราะในเวลาที่ฟ้าแลบเป็นต้นแม้บุคคลผู้ไม่ต้องการดู รูปก็
ย่อมกระทบจักษุประสาทได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์จะทรงประกาศ
อาการนั้น จึงเริ่มนิทเทสวาร (วาระว่าด้วยการขยายความ) ที่สองต่อไป.
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ที่จักษุใดอันเป็นเหตุ. คำว่า
รูปํ นั่นเป็นปฐมาวิภัตติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหญฺญิ วา (กระทบ
แล้ว) เป็นเนื้อความอดีต. บทว่า ปฏิหญฺญติ วา (ย่อมกระทบ) เป็นเนื้อ
ความปัจจุบัน. บทว่า ปฏิหญฺญิสฺสติ วา (จักกระทบ) เป็นเนื้อความ
อนาคต. บทว่า ปฏิหญฺเญ วา (พึงกระทบ) เป็นเนื้อความกำหนด.
* 4 บทคือ ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสติ วา ปสฺเส วา แปลว่า เห็นแล้ว หรือกำลังเห็น
หรือจักเห็น หรือพึงเห็น.